บ้านเดี่ยว 3 ชั้น เหมาะกับใคร
ก่อนซื้อบ้าน หลายคนอาจเคยสงสัยเรื่องประเภทของแบบบ้าน ซึ่งถูกจัดหมวดหมู่ตามลักษณะทางกายภาพ โดยประเภทบ้านที่พบโดยทั่วไป มีตั้งแต่บ้านชั้นเดียว บ้าน 2 ชั้น และบ้าน 3 ชั้น ซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในเลือกอยู่อาศัย สำหรับใครที่วางแผนซื้อบ้าน 3 ชั้น มาดูว่าบ้าน 3 ชั้น เหมาะกับใคร บ้าน 3 ชั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่ต้องคำนึงก่อนซื้อบ้าน 3 ชั้น มีอะไรบ้าง
บ้าน 3 ชั้น เหมาะกับใคร
จำนวนชั้นของบ้าน เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา และยังบอกได้ว่าบ้านที่ต้องการซื้อนั้นเหมาะกับการอยู่อาศัยหรือไม่ โดยปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยให้เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งเป็นเทรนด์หลังจากการมาของโควิด-19 ด้วยความที่บ้าน 3 ชั้น มีความโดดเด่นในเรื่องพื้นที่ใช้สอยที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ได้รับความสนใจ โดยบ้าน 3 ชั้น เหมาะกับคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่มากยิ่งขึ้น และอื่น ๆ ตามเช็กลิสต์ 10 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. เคยอยู่อาคารพานิชย์มาก่อน ชินกับการอยู่อาศัยหลายชั้น
2. ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ช่วงที่ต้อง Work From Home
3. ต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นสัดเป็นส่วน อยู่กันละชั้น
4. ครอบครัวใหญ่ จำนวนสมาชิกอาศัยอยู่ร่วมกันหลายคน
5. ต้องการจำนวนห้องที่เพียงพอกับจำนวนสมาชิก เช่น ห้องนอน 3 ห้อง หรือมากกว่า
6. รองรับครอบครัวขยาย จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นในอนาคต
7. ไม่มีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ด้วย เพราะการขึ้นลงบ้าน 3 ชั้น ทำได้ลำบาก
8. หากมีผู้สูงอายุ ต้องมีห้องนอนผู้สูงอายุชั้นล่าง สามารถปรับเปลี่ยนได้
9. เปิดบริษัททำธุรกิจ ปรับเปลี่ยนบ้าน 3 ชั้น เป็นออฟฟิศ สำนักงาน
10. มีงบประมาณ บ้าน 3 ชั้น ส่วนใหญ่ราคาแพง และอยู่ในทำเลเมือง
5 ข้อต้องคิดก่อนตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้
บ้าน 3 ชั้น มีลักษณะอย่างไร
บ้าน 3 ชั้น คือ บ้านที่มีลักษณะพื้นที่ต่างระดับในแนวดิ่ง 3 ระดับ ทั้งชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น 3 โดยพื้นที่แต่ละชั้นมีอัตราส่วนเท่า ๆ กัน
โดยขนาดจำนวนชั้น มีส่วนสำคัญในการตอบโจทย์การอยู่อาศัย เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน จะมุ่งเน้นการใช้พื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้จะมีพื้นที่จำกัด เช่น การขยายพื้นที่บ้านด้วยการปลูกสร้างจำนวนมากชั้น การจัดวางและตกแต่งภายในให้ได้สัดส่วน การสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ และคำนึงถึงระยะร่นและที่เว้นว่างด้วย
1. ความต้องการ ฟังก์ชั่น และขนาดพื้นที่ใช้สอย
การกำหนดความต้องการใช้งานในบ้านหรือฟังก์ชั่นของบ้าน มีผลต่อขนาดพื้นที่ใช้สอย จำนวนชั้นและลักษณะของบ้าน เช่น ซื้อบ้าน 3 ชั้น เพื่อเตรียมขยายครอบครัว จึงต้องการจำนวนห้องที่มากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนสมาชิก หรือเพื่อทำธุรกิจควบคู่ด้วย เช่น เปิดเป็นโฮมออฟฟิศ หรือปล่อยเช่าบางส่วน
ก่อนซื้อบ้านจึงควรเช็กลิสต์ความต้องการว่า บ้าน 3 ชั้น เหมาะและตอบโจทย์หรือไม่ เพื่อปรึกษาสถาปนิกให้ออกแบบตรงตามความต้องการกรณีสร้างบ้าน 3 ชั้น หรือเลือกแบบบ้านที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด ในกรณีที่ซื้อบ้าน 3 ชั้น โครงการหมู่บ้านจัดสรร
2. ขนาดที่ดิน
ขนาดที่ดิน เป็นอีกหนึ่งข้อคำนึงก่อนตัดสินใจเลือกแบบบ้านชั้นเดียว บ้าน 2 ชั้น หรือบ้าน 3 ชั้น เนื่องจากการสร้างบ้านมีกฎหมายควบคุม ซึ่งต้องคำนึงถึงระยะร่นแนวอาคาร ดังนั้น ต้องรู้ขนาดที่ดินเพื่อหักลบระยะร่นออกไป จากนั้นจึงพิจารณาความเหมาะสมในการสร้างบ้านให้เหมาะสมกับขนาดที่ดิน เช่น หากมีที่ดินขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างบ้านชั้นเดียวหรือบ้าน 2 ชั้นได้ตามฟังก์ชั่นการใช้งาน
แต่หากมีที่ดินขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อหักลบระยะร่นออกแล้ว การสร้างบ้าน 2 ชั้นหรือบ้าน 3 ชั้น อาจเหมาะสมกว่า เพราะสามารถเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้สอยในทางสูงได้นั่นเอง
บ้านชั้นเดียว บ้าน 2 ชั้น ข้อดี-ข้อด้อย เหมาะกับใคร แบบไหนดีกว่ากัน
3. ทำเลที่ตั้ง
ด้านทำเลที่ตั้ง ควรดูบริบทโดยรวมว่าที่ดินอยู่ในทำเลไหน เช่น ทำเลเมือง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ต้องรู่ก่อนซื้อบ้าน สภาพแวดล้อมโดยรอบ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้าน ลักษณะของบ้านที่จะสร้างหรือซื้อจึงต้องพิจารณาด้านทำเลที่ตั้งร่วมด้วยตามความเหมาะสม และนำมาเปรียบเทียบกัน เช่น ซื้อบ้าน 3 ชั้น ทำเลเมือง ราคาที่ดินแพง ราคาบ้านก็สูงตามไปด้วย หรือจะเป็นบ้าน 3 ชั้น ในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ขยับออกทำเลชานเมือง เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง หรือบ้านใต้ถุนสูง ในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม เป็นต้น
4. งบประมาณ
ไม่ว่าจะซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน ต้องมีงบประมาณที่พร้อม ควรรู้ความสามารถการกู้ของตนเอง คำนวณวงเงินกู้สูงสุด เพื่อตรวจสอบยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับการพิจารณาจากธนาคารและยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน รวมทั้งควรเก็บออมเงินดาวน์
แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ทำให้ผู้ซื้อกู้ได้เต็ม 100% โดยไม่ต้องวางเงินดาวน์ แต่โดยปกติแล้วธนาคารจะปล่อยสินเชื่อกู้บ้านได้สูงสุด 90% ของราคาบ้าน
เช่นเดียวกันในกรณีสร้างบ้าน 3 ชั้น ก็มีเรื่องของวัสดุก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ควรศึกษาข้อมูล หรือปรึกษาสถาปนิกก่อนตัดสินใจเช่นเดียวกัน
5. ค่าส่วนกลาง
ค่าส่วนกลางคิดตามขนาดที่ดิน/พื้นที่ใช้สอย ยิ่งมีขนาดที่ดินหรือพื้นที่ใช้สอยมาก ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีผู้อยู่อาศัยมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงกำหนดให้การคำนวณค่าส่วนกลางคิดตามตารางวาสำหรับโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือคิดเป็นตารางเมตรสำหรับโครงการคอนโด
การซื้อที่อยู่อาศัย มีรายจ่ายอีกมากมายที่ต้องนำมาคิดคำนวณด้วย ไม่ว่าจะเป็น ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่าจดจำนอง ค่าส่วนกลาง ค่าประกันภัย ค่าน้ำ-ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบ้าน
สำหรับบ้าน 3 ชั้น นอกจากตอบโจทย์การอยู่อาศัย การดูแลรักษาก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เมื่อบ้านมีจำนวนชั้นเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ใช้สอยมากขึ้น จึงมีหลาย ๆ จุดภายในบ้านที่ต้องตรวจเช็กและดูแลมากขึ้น กรณีที่เกิดความชำรุด เสียหาย ต้องเสียค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ทาสีใหม่ อุดซ่อมแซมรอยแตกร้าว น้ำรั่ว กำจัดปลวก และที่สำคัญ คือ การดูแลทำความสะอาดที่เหนื่อยขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
หลังจากรู้แล้วว่าบ้าน 3 ชั้น เหมาะกับใคร บ้าน 3 ชั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่ต้องคำนึงก่อนซื้อบ้าน 3 ชั้นนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อช่วยให้การตัดสินใจเลือกแบบบ้านได้ง่ายขึ้นแล้ว ควรสอบถามความเห็นชอบจากสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอยู่อาศัยร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนในบ้าน รวมทั้งเจ้าของบ้านอยู่แล้ว ตอบโจทย์การอยู่อาศัย และเติมเต็มความสุขได้ครบในทุกมิติ
ขอนำเสนอ เดอะเชลเตอร์ (The Shelter) ขอนำเสนอบ้านเดี่ยว/ โฮมออฟฟิศ ทำเลทอง ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยสูงสุดในย่านเพชรเกษม-พุทธมณฑลสาย 5 เริ่ม 10-20 ล้าน เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจและการพักอาศัย ใกล้ย่านธุรกิจชั่นนำมากมาย หากสนใจสามารถเยี่ยมชมโครงการทุกวัน
#โครงการเชลเตอร์
#บ้านเดี่ยวและโฮมออฟฟิศ
#ติดถนนใหญ่เพชรเกษม
#ทำเลดีที่สุดในย่านนี้
#โครงการเชลเตอร์
#บ้านเดี่ยวและโฮมออฟฟิศ
#ติดถนนใหญ่เพชรเกษม
#ทำเลดีที่สุดในย่านนี้