สนามบินนครปฐม โอกาสใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย | The Shelter

สนามบินนครปฐม โอกาสใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย
สนามบินนครปฐม แตกต่างจากสนามบินอื่นๆอย่างไร ทำไมต้องสร้าง แล้วจะสร้างอะไรให้แก่พื้นที่โดยรอบ
ต้นเหตุ ของการจะหาที่ตั้งสนามบินใหม่ มี 3 ประเด็นหลักๆ คือ
1. ปริมาณผู้โดยสาร ของกรุงเทพและปริมณฑล โตขึ้นไวมาก จากในการประเมินในปี 2572 จะมากถึง 200 ล้านคน/ปี
ซึ่งตามการประเมินตามแผน
ดอนเมือง สูงสุดได้ 45 ล้านคน/ปี
สุวรรณภูมิ สูงสุดได้ 120 ล้านคน/ปี
ซึ่งตามการประเมิน มีผู้โดยสารส่วนเกินประมาณ 35 ล้านคน/ปี
ซึ่งหลายๆคนก็ให้ไปมองอู่ตะเภา แต่อู่ตะเภาก็ไม่สามารถมาทดแทนได้เต็มที่ เพราะอยู่ไกลจากกรุงเทพ มากเกินไป และมี Demand ของตัวเอง ที่อยู่ด้าน EEC
2. ต้องการจะมีสนามบินเพื่อมารับผู้โดยสารด้านตะวันตก ของกรุงเทพ
3. ต้องการจะสร้างสนามบินเพื่อรับเครื่องบินส่วนบุคคล และเครื่องเช่าเหมาลำ พร้อมกับศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งตรงนี้คือประเด็นที่สำคัญที่สุด และสร้างมูลค่าให้กับโครงการมากที่สุด และแตกต่างจากสนามบินอื่นๆ ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
———————
ตำแหน่งก่อสร้างสนามบิน
จากในโครงการมีการศึกษาตำแหน่งมากกว่า 7 ที่ รวมถึงสนามบินกำแพงแสนด้วย
ตามรายละเอียดในลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/683334135438402/?d=n
แต่จากทุกตัวเลือก ได้เลือกตำแหน่ง ระหว่าง อ.นครชัยศรี และ อ.บางเลน ใกล้กับวัดบางพระ นครชัยศรี ซึ่งเป็นพื้นที่มีบ้านเรือนเบาบาง
ซึ่งบริเวณนี้ใกล้กับโครงข่ายมอเตอร์เวย์
M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี
M91 วงแหวนรอบ 3
M92 วงแหวนรอบ 4
ซึ่งเป็นตำแหน่งการเชื่อมโยงที่เดินทางได้สะดวกมาก รวมถึงในโครงการ มีแนวคิดที่จะเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี ได้ด้วย
และห่างจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายไปนครปฐม ตามแผนระยะยาวประมาณ 10 กิโลเมตร อีกด้วย
คลิปสำรวจพื้นที่ก่อสร้างบางส่วน
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/videos/2175732715872793/?vh=e&d=n
—————————
การออกแบบสนามบิน
ตามแผนการออกแบบสนามบิน จะมีการออกแบบในระยะยาว
ให้รองรับผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ได้สูงสุด 30 ล้านคน/ปี
ผู้โดยสารเครื่องบินส่วนตัว ได้สูงสุด 35,000 คน/ปี
ในปี 2589
พื้นที่ก่อสร้างสนามบิน 3,500 ไร่
รายละเอียดภายใน สนามบิน
- Runways ขนาด 45 X 2500 m.
สามารถรองรับเครื่องบิน รุ่น Airbus A330 และ Boeing 767 ได้
***หลุมจอด
- หลุมจอดประชิดอาคาร (contact gate) 24 หลุมจอด
- หลุมจอดระยะยาว 8 หลุมจอด
- หลุมจอดฉุกเฉิน 2 หลุมจอด สำหรับเครื่องบินที่มีปัญหาหรือหลุดจาก Runway
- ลานจอดเครื่องบินเชิงพาณิชย์(เครื่องบินส่วนตัว) 112 หลุมจอด ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่สนามบินอื่นไม่มี หรือมีน้อยมาก ซึ่งเป็นตัวที่จะสร้างมูลค่าให้กัสนามบินและ พื้นที่โดยรอบได้อีกมาก
- ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 16 ลำ
***อาคารทางด้านการบิน
- อาคารผู้โดยสาร ทั้งหมด 3 อาคาร พื้นที่รวม 115,000 ตรม รองรับผู้โดยสารได้ สูงสุด 5,100 คน/ชั่วโมง ซึ่งคาดว่าตอนเปิดให้บริการน่าจะทยอยสร้างตามประมาณผู้โดยสาร
- อาคารปฏิบัติการภาคพื้นดิน หรืออาคารซ่อมบำรุง ต่างๆ 16 อาคาร ซึ่งตัวอาคารนี้จะเทียบเท่า กับอาคารของ Mjet ที่ดอนเมือง ซึ่งดอนเมืองมี ไม่ถึง 6 อาคาร ถ้าไม่รวมโรงซ่อมของ การบินไทย อาคารนี้เป็นอาคารที่จะสร้างมูลค่าให้กับโครงการ มาคู่กับลานจอดเครื่องบินเชิงพาณิชย์ และจะดึงเอาเครื่องบินส่วนบุคคล และขนาดเล็กจากทั่วอาเซียนได้ และจะสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ และผู้เชี่ยวชาญในประเทศ
***อาคารสนับสนุน
- ลานจอดรถ ได้ 4,200 คัน
- อาคารต่างๆที่ใช้ในการบิน และเจ้าหน้าที่การบิน
***การระบายน้ำ
- มีบ่อรับน้ำรอบสนามบิน 4 ตำแหน่ง
- คลองรอบสนามบิน
***ถนนภายในสนามบิน
- ทางเข้า 1 จากทางหลวง 3233 มีถนนเข้าสนามบินมา 6 เลน
- ทางเข้า 2 จากทางหลวงชนบท นฐ 4005 มีถนนเข้าสนามบินมา 6 เลน
———————
มูลค่าการลงทุนรวมของโครงการ 30,000 ล้านบาท
รูปแบบการลงทุน
สำหรับรูปแบบการลงทุนกรณีให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานนครปฐมสำหรับรองรับการบิน ได้ทำการวิเคราะห์เป็น 3 กรณีได้แก่
1. รัฐลงทุนค่าที่ดิน เอกชนลงทุนการก่อสร้างทั้งหมด โดยเอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 5% จะมีระยะเวลาคืนทุน 18.67 ปี
2. รัฐลงทุนที่ดินและงานระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ยกเว้นลานจอดเครื่องบิน) เอกชนลงทุนอาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารปฏิบัติการภาคพื้นดิน ลานจอดเครื่องบินทั้งหมด โดยเอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 50% จะมีระยะเวลาคืนทุน 20.25 ปี
3.รัฐลงทุนที่ดิน งานระบบโครงสร้างพื้นฐาน ลานจอดเครื่องบินพาณิชย์ เอกชนลงทุนงานอาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารปฏิบัติการภาคพื้นดิน ลานจอดเครื่องบินธุรกิจ โดยเอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 52% จะมีระยะเวลาคืนทุน 20.17 ปี
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของการซื้อที่อยู่อาศัย ในบริเวณ พุทธมณฑล สาย 4 , พุทธมณฑล สาย 5 ติดถนนเพชรเกษม ที่จะส่งผลให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้น จากการที่มีสนามบินเข้ามา  โดยเฉพาะโครงการ The Shelter บ้านเดี่ยว ติดถนนใหญ่เพชรเกษม - สาย 5 ที่อยู่ในทำเลที่ดีที่สุดตอบโจทย์การอยู่อาศัยของชาวฝั่งธน
  
#โครงการเชลเตอร์
#บ้านเดี่ยวและโฮมออฟฟิศ
#ติดถนนใหญ่เพชรเกษม
#ทำเลดีที่สุดในย่านนี้